ขั้นตอนการทำกระดาษสา มีอยู่ 4 ขั้นตอนหลัก
คือ การทำปอสาให้เปื่อยและขาว,
การทำปอสาให้เป็นเยื่อ, การทำเยื่อสาให้เป็นแผ่น,
ขั้นตอนการตากและแกะ
1. ขั้นตอนที่ 1
การทำปอสาให้เปื่อยและขาว
1.1 การต้มปอสาให้เปื่อย
การต้มเปลือกสาจะเหมือนกับการต้มวัตถุดิบอื่นๆ
โดยเตรียมน้ำเปล่าใส่ลงในถังต้มเยื่อทำด้วยสแตนเลสใช้อัตราส่วนระหว่างเยื่อแห้งกับน้ำเท่ากับ
1:10
แล้วใส่โซดาไฟลงไปจำนวนที่ใช้ขึ้นอัพเกรดของเปลือกสา ถ้าเป็นเกรด SA
และA ใช้ร้อยละ7 ของน้ำหนักเปลือกสาแห้งคนให้ละลายจนหมด
จึงนำเปลือกสาที่ผ่านการแช่น้ำหรือสารละลายด่างลงไปคนให้เปลือกคลุกเคล้ากับสารละลายด่างจนทั่ว ปิดฝาถังเยื่อต้มที่มีอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส
โดยช่วงแรกให้ใช้ไฟแรงเพื่อให้อุณหภูมิถึงจุดเดือดเร็วๆ
เมื่อเดือดแล้วลดความแรงของไฟลงให้เดือด ปกติเพื่อไม่ให้สารละลายด่างล้นออกไปจากถังต้มและคนพริกเยื่อที่ต้มเอาด้านล่างขึ้นบน
บนลงล่างทุกๆ 1 ชั่วโมง โดยจับเวลาหลังเดือดเป็นเวลา 3
ชั่วโมงแล้วจึงหยุดต้มทั้งนี้ให้พิจารณาใช้มือดึงด้านล่างและตามยาวเยื่อหลุดออกมาจากกันโดยง่าย
หลังจากนั้นให้แช่เยื่อที่ต้มแล้วเอาไว้ในสารละลายด่างที่ต้มต่ออีก 1 คืน
เพื่อให้เกิดการย่อยสลายที่สมบูรณ์และสะดวกต่อการปฏิบัติงานเมื่อเย็นลง
แล้วล้างเอาด่างออกจากเยื่อด้วยน้ำ 3 ครั้งโดยดูจากเมื่อจับดูแล้วไม่มีความลื่นที่มือ
น้ำด่างที่ผ่านการต้มแล้วสามารถนำไปแช่เปลือกสาอีกได้
1.2 การทำความสะอาดปอสาหลังต้ม
เมื่อครบแล้ว นำปอสาย้ายไปใส่บ่อปูนสำหรับล้างปอสา
นำน้ำสะอาดใส่จนเต็มแล้วล้างปอสา ประมาณ 2 น้ำ
เมื่อสัมผัสปอสาจะมีลักษณะลื่นมือและอ่อนถือว่าได้ที่แล้ว
1.3 การต้มเพื่อฟอกเยื่อให้ขาว
การฟอกเยื่อ
เทน้ำในถัง 200 ลิตรที่ต้มปอสาเปื่อย
จากนั้นใส่น้ำใหม่ในปริมาณ 1 : 5 ของปอสาเปื่อย ตั้งไฟรอน้ำเดือด
ใส่ไฮโดรเจนและซิลิเกต ลงไปพร้อมกัน คนทุก ๆ 1 ชั่วโมงเช่นกัน ปิดฝาให้สนิท
ต้มไปประมาณ 3 ชั่วโมง ปอสาถึงจะขาวได้ที่
1.4 การทำความสะอาดปอสาหลังฟอกเยื่อ
เมื่อปอสาผ่านการฟอกแล้ว
จะนำปอสาลงไปแช่ในบ่อปูน เพื่อล้างน้ำอีกครั้ง
2 ขั้นตอนที่ 2
การทำปอสาให้เป็นเยื่อ
ธนกร คุณยศยิ่ง(2555 กย.9.).เริ่มจากการนำน้ำใส่ในเครื่องโม่
เปิดเครื่องโม่ ใส่ปอสาเปื่อยลงไป เมื่อปอสากลายเป็นเยื่อละเอียด
เราก็ใส่เยื่อสนตามลงไป โม่จนเยื่อสนกับปอสาเข้ากัน
จากนั้นใส่สีตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งให้เหมือน โม่ให้เข้ากันอีกครั้ง
นำเศษสีเหลือใช้ ตามสีที่เราทำเพื่อเพิ่มปริมาณของกระดาษ
จากนั้นนำวัตถุดิบให้ละเอียดเข้ากัน เมื่อเสร็จแล้ว
ปล่อยเยื่อสาลงในเข่งพลาสติกขนาดใหญ่เพื่อไม่ให้เยื่อสาอุ้มน้ำนั่นเอง
3 ขั้นตอนที่ 3
การทำเยื่อสาให้เป็นแผ่น
การทำกระดาษสามีด้วยกัน
2 แบบ คือ แบบช้อน และแบบแตะ หรือแบบหล่อ ซึ่งแบบแตะนี้แบ่งออกไปอีก 2 วิธี คือ
วิธีปั้นก้อนเปียก และวิธี consistency ก่อนที่จะทราบถึงวิธีการทำแผ่นแต่ละแบบของไทยจำเป็นต้องเข้าใจเกี่ยวกับตะแกรงที่ใช้ช้อนแผ่นก่อน
เพราะตะแกรงเป็นอีกอุปกรณ์หนึ่งที่บ่งบอกถึงความแตกต่างว่าเป็นกระดาษแบบใด(วุฒินันท์ คงทัด , 2540)
ตะแกรงทำแผ่นแบบไทย
ประกอบด้วยส่วนที่เป็นกรอบไม้สี่เหลี่ยมอาจทำด้วยไม้ไผ่ หรือไม้สัก
ถ้าทำด้วยไม้ไผ่ราคาถูกอายุใช้งานจะสั้น แต่ถ้าเป็นไม้สักราคาจะแพง
สามารถใช้งานได้นาน ถ้าจะดีจะต้องทาด้วยยูรีแทนกันน้ำด้วย
ส่วนตาข่ายไนล่อนสีฟ้าและสีขาว ตาข่ายสีขาวจะแข็งแรงกว่าสีฟ้า
ตาข่ายนี้จะทำให้กระดาษมีรอยรูปตาข่ายเมื่อกระดาษแห้งแล้ว ซึ่งเป็นตำหนิชนิดหนึ่ง
3.1 การทำกระดาษสาแบ่งออกเป็น
2 แบบ ดังนี้
3.1.1 แบบช้อน
มักใช้กระดาษชนิดบางสามารถทำได้เป็นจำนวนมาก วันละ 200-300 แผ่นต่อคนต่อวัน
แต่กระดาษที่ได้จะไม่ค่อยมีความสม่ำเสมอในแผ่น
และแต่ละแผ่นน้ำหนักกระดาษจะไม่เท่ากัน ถ้าจะให้เท่ากันคนช้อนแผ่นจะต้องมีความชำนาญมาก
วิธีการโดยนำน้ำใส่ในอ่างช้อนเยื่อใส่สารกระจายเยื่อที่เตรียมไว้ลงไปปริมาณมากน้อยตามความต้องการของแต่ละคน
โดยทั่วไปจะใช้ที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.05
ของสารละลายถ้าใส่น้อยกระกระจายตัวของเยื่อก็จะไม่ดี
ถ้าใส่มากเกินไปการไหลผ่านของน้ำออกจากตะแกรง แผ่นกระดาษจะเสียได้
คนด้วยไม้ไผ่ให้สารกระจายเยื่อผสมกับน้ำช้อนเยื่อใส่เยื่อที่ตีแล้วลงไปในน้ำช้อนเยื่อคนให้กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอทั่งอ่าง
นำตะแกรงจ้วงตักเยื่อจากจุดที่ห่างที่สุด แล้วลากเข้าหาตัวช้าๆ
โดยรักษาระดับตะแกรงให้ขนานกับผิวหน้าของน้ำเยื่อไว้ตลอดเวลาความลึกของการจ้วงแต่ละครั้งขึ้นกับความหนาบางของกระดาษที่ต้องการ
ยกตะแกรงให้พ้นน้ำโดยเร็วในแนวดิ่ง รอจนน้ำหยดจากตะแกรงจนหมด จึงนำไปตาก
3.1.2 แบบแตะ เป็นวิธีการทำแผ่นที่สามารถกำหนดความหนาของกระดาษได้ แต่การทำแผ่นจะช้ากว่าแบบช้อน
กระดาษจะมีความสม่ำเสมอมากกว่า
3.2
การตกแต่งแผ่นกระดาษสา
การตกแต่งแผ่นกระดาษสาเพื่อให้กระดาษสาสวยงามต่างไปจากแผ่นกระดาษสาทั่วไป
ซึ่งจะเป็นกระดาษสาสีขาวหรือสีต่างๆ การตกแต่งอาจจะโดยกระใส่ใบไม้
ดอกไม้ใช้เยื่อต่างสีหรือผสมเยื่อชนิดอื่นๆลงไปหรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรก็ได้
นอกจากจะให้ความแปลกใหม่ ความสวยงามแล้วยังช่วยเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับการะดาษสา
และวัสดุเหล่านั้นอีกด้วย การตกแต่งสามารถจะทำได้หลายวิธี ดังนี้
3.2.1
การตกแต่งโดยการใส่ดอกไม้และใบไม้ ความสวยงามจะขึ้นอยู่กับการออกแบบ
และชนิดของดอกไม้ที่จะนำมาใส่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนสีและการตกของสีเมื่อนำมาใส่ลงในกระดาษด้วย
ดอกไม้หรือใบไม้จะต้องไม่เปลี่ยนสีหรือสีจะต้องไม่ตก ปนเปื้อนกับกระดาษ
การใส่ดอกไม้และใบไม้ทำได้ 2 วิธี คือ
3.2.1.1 ใส่ลงในเยื่อขณะทำแผ่น
จะโดยวิธีช้อนหรือแตะก็ตาม เมื่อช้อนหรือแตะเยื่อให้กระจายเต็มพื้นที่ของตะแกรง
แล้วนำดอกไม้หรือใบไม้วางลงบนเยื่อกระดาษตามแบบที่ได้กำหนดไว้แล้ว
ใช้นิ้วกดดอกไม้หรือใบไม้ลงใต้เยื่อให้เยื่อทับดอกและใบเอาไว้ แล้วยกขึ้น
จากนั้นรอให้น้ำหยุดไหลจึงนำไปตากแดด วิธีนี้สามารถจะทำได้เร็ว
แต่เยื่อปิดดอกไม้หรือใบไม้ไม่หมดและไม่สม่ำเสมอ บางบ้าง หนาบ้าง
บางแห่งก็จะไม่มีเยื่อปิดทำให้ดอกไม้และใบไม้หลุดออกมาได้ ดูแล้วไม่ค่อยสวยงามกระดาษแบบนี้อาจจะขายได้ในราคาไม่สูงมากนัก
3.2.1.2
วางบนเยื่อแล้วปิดทับด้วยแผ่นกระดาษบาง
วิธีนี้จะต้องเตรียมแผ่นกระดาษสาชนิดบางเอาไว้ก่อน
แผ่นกระดาษสานี้เตรียมโดยการช้อนแผ่นบางๆ ตากให้แห้งให้พอกับจำนวนกระดาษที่จะทำ
เริ่มจากการช้อนหรือแตะเยื่อให้กระจายทั่วตะแกรงในอ่าง
แล้ววางดอกไม้หรือใบไม้บนเยื่อที่กำหนด หรือจะยกตะแกรงขึ้นจากน้ำก่อน
จึงจะวาดดอกไม้หรือใบไม้ เมื่อเสร็จแล้วขณะวางต้องดึงให้ตึงเท่ากันทั้งแผ่น
แผ่นกระดาษที่วางทับลงไปจะเปียกน้ำและจะติดกับกระดาษแผ่นล่างโดยไม่หลุด
วิธีนี้จะได้กระดาษที่มีความสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่นและไม่มีการหลุดของดอก
และใบไม้กระดาษแบบนี้เป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่าวิธีแรก
4 ขั้นตอนที่ 4 การตากและดึงกระดาษสา
4.1
การทำกระดาษให้แห้ง
กระดาษสาแบบไทยไม่สามารถจะดึงออกจากตะแกรงในขณะเปียกได้
ดังนั้นจำเป็นจะต้องทำให้กระดาษแห้งทั้งตะแกรง ซึ่งมีด้วยกัน 2 วิธี คือ
4.1.1 การตากแดด
โดยอาศัยความร้อนจากแสงแดดเป็นวิธีที่ประหยัดโดยนำตะแกรงที่น้ำไหลออกจากเยื่อหมดแล้วเอียง 45 องศา หันด้านที่มีกระดาษเข้าหาแสงแดด
ถ้าเป็นกระดาษที่ไม่ได้ย้อมสีแต่ถ้าเป็นกระดาษย้อมสีควรจะผึ่งให้แห้งในร่ม
เพื่อสีจะได้ไม่ซีดแต่ถ้าไม่มีพื้นที่จำเป็นจะต้องตากแดดให้หันด้านหลังตะแกรงเข้าหาแสงแดดจะช่วยลดการซีดของสีลงได้
กระดาษจะแห้งเร็วหรือช้าจะขึ้นกับสภาพของอากาศและความหนาของกระดาษด้วย
โดยปกติจะแห้งในเวลา 2-3 ชั่วโมงหรือการพิงกระดาษกับราวไม้ เอียงกระดาษ 45 องศา
4.1.2 ใช้ตู้อบ
สามารถอบกระดาษได้ตลอดเวลาโดยไม่มีปัญหาของสภาพอากาศแต่การลงทุนค่อนข้างสูง
แหล่งให้ความร้อนจะเป็นแก๊สหรือไฟฟ้าก็ได้
กระดาษที่จะนำเข้าจำเป็นต้องให้น้ำหยดจนหมดก่อนจึงนำเข้าอบโดยวางซ้อนกันครั้งละหลายชั้นตามความจุของตู้อุณหภูมิที่ใช้ประมาณ
40-45 องศาเซลเซียส
ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปจะทำให้ตาข่ายไนล่อนหดตัวหลุดออกจากตะแกรงได้
กระดาษจะแห้งประมาณ 1 ชั่วโมง ตู้อบสามารถใช้ได้ทั้งกระดาษขาวและกระดาษสี
ส่วนกระดาษที่ใส่ดอกไม้และใบไม้เมื่อตัวกระดาษแห้งแล้วจำเป็นจะต้องหาที่แขวนกระดาษต่ออีก
1-2
วันเพื่อให้ดอกไม้หรือใบไม้แห้งสนิทก่อนมิฉะนั้นจะเกิดเชื้อราที่ดอกและใบไม้ที่ใส่เข้าไปได้
4.2 การทำให้ผิวหน้ากระดาษเรียบ
โดยทั่วไปกระดาษสาไทยผิวหน้าของกระดาษจะไม่เรียบมีลักษณะย่น
ขรุขระ เนื่องจากไม่สามารถนำออกจากตะแกรงเข้าเครื่องกดไล่น้ำ (press) ทำให้แห้งบนผิวเรียบของแผ่นสแตนเลส (stream dry) หรือแผ่นไม้
(drying boards) ได้เหมือนกระดาษญี่ปุ่นหรือยุโรป
ยิ่งกระดาษที่หนามากจะมีผิวขรุขระมากกว่ากระดาษบาง การจะทำให้ผิวหน้ากระดาษเรียบ
สามารถทำได้ดังนี้
ครูดผิวหน้ากระดาษด้วยภาชนะขอบและผิวเรียบ
การครูดผิดหน้ากระดาษจะต้องรอให้น้ำหน้าผิวกระดาษระเหยออกไปประมาณร้อยละ 70 ก่อน
ถ้าเข้าอบควรจะครูดผิดหน้าก่อนเข้าอบจะได้ไม่เสียเวลาเปิด
เข้าออกในขณะตากแดดการะดาษจะมีความเหนียวขึ้น เวลาครูดผิวหน้าจะได้ไม่ขาด
การครูดโดยใช่มือขวาจับที่ก้นภาชนะ เช่น ขันแล้วคว่ำขอบบนเข้าหาแผ่นกระดาษใช่ขอบครูดบนผิวกระดาษไปมาโดยค่อยเพิ่มน้ำหนักขึ้นทีละน้อย
โดยดูจากผิวของกระดาษเป็นหลัก และไม่กดแรงเกินไป กระดาษอาจจะขาดหรือมีตำหนิได้
การครูดผิวหน้าไม่สามารถกระทำได้ในครั้งเดียวทั้งแผ่นเนื่องจากการระเหยของน้ำออกจะจากแผ่นไม่เท่ากัน
ส่วนบนตะแกรงจะแห้งเร็วกว่าด่อนล่าง
ดังนั้นจึงต้องคอยครูดผิวหน้าจนหมดทั้งแผ่นกระดาษที่แห้งแล้วนำมาพ้นน้ำแล้วครูดหน้าภายหลังจะไม่เรียบเท่าในขณะตากหรือเปียกครั้งแรก
4.3 การดึงกระดาษสาออกจากตะแกรง
การ
ดึงกระดาษออกจากตะแกรงหลังจากที่กระดาษแห้งแล้ว
นับว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำกระดาษแล้วมีความสำคัญค่อนข้างมาก
เนื่องจากคุณภาพของกระดาษจะต่ำลงเพราะกระดาษมีตำหนิ เช่น
รอยฉีกหรือหักพับจากการดึงกระดาษจะต้องนำตะแกรงมาตั้งเฉียบประมาณ 45 องศา
ใช้นิ้วกดด้านบนให้ห่างเท่าๆกัน ดึงกระดาษเข้าหาตัวลักษณะยกขึ้นเล็กน้อย
จนกระดาษหลุดออกจากตะแกรงทั้งแผ่นวิธีนี้อาจจะต้องหาที่ยึดขอบตะแกรงด้านบนไว้
มิฉะนั้นตะแกรงจะถูกตึงตามเข้ามาพร้อมกระดาษด้วย
ถ้าไม่มีและไม่สะดวกจำเป็นต้องใช่มือข้างหนึ่งจับขอบตะแกรงบนไว้ แล้วมืออีกข้างหนึ่งจับตรงกึ่งกลางขอบกระดาษด้านบน
ดึงกระดาษออกจากตะแกรงเหมือนที่กล่าวต้องมีต้องมีความระมัดระวังอย่าให้เกิด
รอยหักพับของกระดาษในขณะดึงควรจะดึงออกทีละแผ่นแล้ววางซ้อนกันให้เรียบร้อย
จึงจะดึงแผ่นต่อไป